เมนู

คาถาที่ 6


5) มิโค อรยฺยมิหิ ยถา อพนฺโธ
เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย
วิญฺญู นโร เสริตํ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปิโป.

เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไปหากินตาม
ปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตาม
ความพอใจของตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า มิโค นี้ เป็นชื่อของสัตว์ 4 เท้าที่อยู่ในป่าทุกชนิด. ใน
ที่นี้ท่านประสงค์เอาเนื้อฟาน (อีเก้ง). บทว่า อรญฺญมฺหิ คือ ป่าที่เหลือ
เว้นบ้านและที่ใกล้เคียงบ้าน. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาสวน. เพราะ-
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุยฺยานมฺหิ คือ ในสวน. บทว่า ยถา คือ ใน
ความเปรียบเทียบ. บทว่า อพนฺโธ คือ อันเครื่องผูกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาเชือกและเครื่องผูกเป็นต้น มิได้ผูกพันไว้. ด้วยบทนี้ท่านแสดง
ถึงความพระพฤติที่คุ้นเคยกัน. บทว่า เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย ไป
เพื่อหาอาหารคามความต้องการ คือไปเพื่อหาอาหารตามทิศที่ต้องการไป.
เพราะฉะนั้น ในบทนั้นท่านจึงแสดงว่า ไปยังทิศที่ต้องการจะไป เคี้ยว
กินอาหารที่ต้องการเคี้ยวกิน. บทว่า วิญฺญู นโร คือ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต.
บทว่า เสริตํ ธรรมอันให้ถึงความเสรี คือ ความประพฤติด้วย
ความพอใจ ความไม่อาศัยผู้อื่น. บทว่า เปกฺขมาโน คือ ดูด้วยปัญญา

จักษุ. อีกอย่างหนึ่ง ความเสรีในธรรมและความเสรีในบุคคล. จริงอยู่
โลกุตรธรรมทั้งหลายชื่อว่าเสรี เพราะไม่ไปสู่อำนาจของกิเลส และบุคคล
ชื่อว่าเสรี เพราะประกอบด้วยโลกุตรธรรมเหล่านั้น. นิเทศแห่งความ
เป็นเสรีเหล่านั้น เพ่งถึงธรรมอันให้ถึงความเป็นเสรี. ท่านอธิบายไว้
อย่างไร. อธิบายไว้ว่า มฤคในป่า อันเครื่องผูกอะไร ๆ มิได้ผูกไว้
ย่อมไปหาอาหารได้ตามความประสงค์ฉันใด เมื่อเราคิดว่า เมื่อไรหนอ
เราพึงตัดเครื่องผูกคือตัณหา แล้วไปอย่างนั้นได้ ดังนี้ แล้วถูกพวกท่าน
ยืนล้อมอยู่ทั้งข้างหน้าข้างหลัง ผูกพันอยู่ไม่ได้ไปตามความปรารถนา เรา
เห็นโทษในความไม่ได้ไปตามความปรารถนา เห็นอานิสงส์ในการไปได้
ตามความปรารถนาแล้ว ได้ถึงความบริบูรณ์ด้วยสมถะและวิปัสสนาตาม
ลำดับ แต่นั้นก็ได้บรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น นรชนผู้เป็น
วิญญู เมื่อเห็นธรรมอันให้ถึงความเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
จบคาถาที่ 5

คาถาที่ 6


6) อามนฺตา โหติ สหายมชฺเฌ
วาเส ฐาเน คมเน จาริกาย
อนภิชฺฌิตํ เสริตํ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป ในการเที่ยว
ย่อมมีในท่ามกลางสหาย บุคคลเพ่งความประพฤติตาม